วันพฤหัสบดีที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2554

วิธีการทำสวนยางพารา

เมื่อคิดจะปลูกยางพาราควรรู้อะไรบ้าง

ข้อควรพิจารณาในการเลือกทำเลพื้นที่เพื่อทำสวนยาง

E-mail Print PDF
(31 votes, average: 3.97 out of 5)
แม้ว่าประเทศไทยจะอยู่ในเขตที่มีภูมิอากาศที่มีความเหมาะสมมาก ๆ ในการปลูกสร้างสวนยางพารา โดยเฉพาะภาคใต้และภาคตะวันออกซึ่งเป็นเขตปลูกยางพาราเดิม แต่ก็มิได้หมายความว่าที่ดินทุกแปลงจะมีความเหมาะสมอยู่ในระดับที่สามารถทำสวนยางพาราได้อย่างมีประสิทธิภาพหรือให้ผลผลิตสูง(ต้นทุนต่ำ) โดยทั่วไป พบว่า ปริมาณผลผลิตจากสวนยางพาราจะขึ้นอยู่กับปัจจัยที่สำคัญ ๆ อาทิ ความเหมาะสมของพื้นที่, พันธุ์ยางพารา และการจัดการสวนยางพารา ในที่นี้จะขอกล่าวถึงลักษณะของพื้นที่อันได้แก่ ดิน และสภาพภูมิอากาศ ที่เหมาะสมต่อการปลูกยางพารา ดังนี้
  1. เป็นพื้นที่ที่ไม่ควรอยู่สูงกว่าระดับน้ำทะเลเกินกว่า 600 เมตร
  2. สภาพพื้นที่ควรระบายน้ำได้ดี หากมีความลาดชันก็จะเป็นการดี แต่ไม่ควรเกิน 35 องศา และต้องทำชานหรือขั้นบันได หากมีความลาดชันมากกว่า 15 องศา
  3. หน้าดินควรลึกมากว่า 1 เมตร ไม่ควรมีชั้นดินดานหรือชั้นหิน
  4. เนื้อดิน ควรเป็นดินร่วนเหนียว หรือดินร่วนทราย สีของเนื้อดินควรสม่ำเสมอหรือเป็นสีเดียวตลอดหน้าตัดของดิน
  5. เนื้อดินมีระดับความเป็นกรด-ด่าง หรือมีค่า pH อยู่ระหว่าง 4.5-5.5
  6. เป็นที่ที่มีปริมาณฝนไม่น้อยกว่า 1250 มิลลิเมตร/ปี และมีจำนวนวันฝนตกประมาณ 120-150 วัน/ปี
ที่เหมาะสมกับยางพารา เป็นเนินควนเขา,หน้าดินลึก,ดินร่วนเหนียว,เป็นสีเดียวกันตลอดหน้าตัดของดิน
ลักษณะชั้นหินแข็ง

จากที่กล่าวมาข้างต้น และเมื่อเทียบกับสภาพพื้นที่จริงแล้ว สรุปได้ว่า
  • พื้นที่ดินนาหรือที่ลุ่ม ไม่ควรซื้อเพื่อการปลูกยางพาราอย่างเด็ดขาด แม้จะเห็นว่ามีการขุดคูยกร่องได้ก็ตาม สภาพดินในพื้นที่แบบนี้มักเป็นดินเหนียว ระบายน้ำได้ยาก ต้นยางพาราไม่ชอบ แม้จะพอเจริญเติบโตได้ ก็เป็นเพียงในช่วงระยะแรก ๆ เท่านั้น ในระยะยาวแล้ว ต้นยางพาราจะไม่สูง และลำต้นไม่ใหญ่
  • พื้นที่ติดถนนใหญ่ ก็ไม่เหมาะที่จะซื้อเพื่อปลูกสร้างสวนยางพารา เพราะถนนมักจะอยู่สูงกว่าพื้นที่สวนยาง ก็จะทำให้มีน้ำขังได้เช่นกัน (ยกเว้น พื้นที่สวนยางพาราที่อยู่สูงกว่าถนน)
  • พื้นที่ใก้ลแหล่งชุมชนหรือโรงงาน ก็ไม่ควรซื้อเพื่อการปลูกยางพาราเช่นกัน เพราะจะมีการถมที่กันไป ถมกันมา ทำให้สวนยางพาราที่ไม่ถูกถมกลายเป็นที่ลุ่มมีน้ำขัง ระบายน้ำไม่ได้ และถ้าอยู่ใก้ลโรงงานที่ปล่อยน้ำเสีย หรือน้ำที่เจือปนด้วยสารตกค้างที่มีพิษต่อต้นยางพารา ก็อาจจะมาขังในสวนยางพาราของเรา ก็ทำให้ตายได้ในเวลาไม่นานนัก
  •  
 พื้นที่ดินนาหรือที่ลุ่ม แถมอยู่ติดถนนใหญ่อีก ไม่ควรซื้อเพื่อการปลูกยางพารา




  พื้นที่ใก้ลแหล่งชุมชนหรือโรงงาน ก็ไม่ควรซื้อเพื่อการปลูกยางพาราเช่นกัน
  • ลักษณะดินลูกรังร่วนซุย-ดินบนควนพื้นที่ใกล้ป่าใหญ่ หรือป่าเสื่อมโทรมที่อยู่ห่างไกลจากเขตชุมชน, โรงงาน, ถนนใหญ่ จึงเป็นพื้นที่ที่เหมาะสมต่อการซื้อเพื่อการทำสวนยางพาราเนื่องจากพื้นที่ดังกล่าว มักเป็นพื้นที่ที่มีหน้าดินลึก ไม่มีชั้นดินดานหรือชั้นหินแข็ง มีอินทรีย์วัตถุ, ธาตุอาหารหลัก, ธาตุอาหารรอง ตามที่ต้นยางพาราต้องการ เป็นส่วนมาก ถ้าจะให้ดีกว่านั้นอีก พื้นที่แปลงนั้นควรอยู่บริเวณตีนเขา เพราะเมื่อฝนตก พื้นที่ใกล้ป่าใหญ่หรือป่าเสื่อมโทรมที่อยู่ห่างไกลจากเขตชุมชน.มีความลาดเทเล็กน้อยเป็นพื้นที่ที่เหมาะสมต่อการซื้อเพื่อการทำสวนยางน้ำจะพัดพาพวกอินทรีย์วัตถุต่างๆ มาสะสมอยู่ในสวนยางพาราของเรา ถ้าจะให้ดีขึ้นอีก สวนยางพาราของเราก็ต้องอยู่ด้านทิศตะวันออกของเขานั้น เพราะเมื่อถึงยามบ่ายใก้ล ๆ เย็น พระอาทิตย์จะลับแนวเขา สวนเราก็จะเริ่มเย็นลงก่อน ครั้นยิ่งตกกลางคืนอากาศก็ยิ่งเย็นลง เมื่อถึงเวลากรีดยางตอน เที่ยงคืน หรือ ตอน 1 นาฬิกา สวนยางเราก็จะยิ่งเย็นซึ่งจะทำให้น้ำยางบนรอยกรีดไหลได้นาน ทำให้ได้ผลผลิตน้ำยางมาก สำหรับพื้นที่บนเขา ถ้าความลาดชันไม่เกิน 20 องศา (ต้องทำชานหรือขั้นบันได) มักจะให้ผลผลิตน้ำยางดีกว่าพื้นที่ราบ เนื่องจากดินบนเขาแบบนี้จะมีการระบายน้ำได้ดี จึงทำให้ดินมีความอุดมสมบูรณ์สูง ยิ่งถ้าได้ดินที่เป็นลูกรังร่วนซุยอีก ก็สุดยอดเลยครับ ตกกลางคืนอากาศจะเย็นกว่าที่ราบ การกรีดจึงได้น้ำยางมากสุด ๆ  และพื้นที่ที่น่าปลูกยางพาราอีกแบบ ก็คือบริเวณที่อยู่บริเวณหุบเขา เนื่องจากพื้นที่ในบริเวณหุบเขา จะมีอินทรีย์วัตถุมาทับถมมากมาย ส่งผลให้ต้นยางพาราที่ปลูกโตเร็ว อากาศในหุบเขาก็เย็นกว่า เวลากรีดจึงให้น้ำยางมากกว่า แต่ถ้าจะให้เด็ดกว่านั้นอีก ก็น่าจะมีลำธารไหลผ่านหุบเขานั้น ด้วย
แต่พื้นที่ที่เหมาะสมในการทำสวนยางพาราที่กล่าวมาทั้งหมด ถึงแม้จะมีแต่คงไม่สามารถหาซื้อได้ง่าย ๆ กระนั้น เราก็ควรที่จะรู้หลักการในการพิจารณาพื้นที่ไว้ก่อน ส่วนใครจะโชคดีแค่ไหนในเรื่องนี้ ก็ขึ้นอยู่กับเงิน บุญวาสนา และความพยายาม ครับ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น