วันอังคารที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2554

การเลี้ยงตุ่น

วิธีเลี้ยงตุ่น วิธีการเลี้ยงตุ่น การวิธีเลี้ยงตุ่น

ตุ่น เป็นสัตว์อีกชนิดหนึ่งที่ให้คุณค่าแก่มนุษย์และธรรมชาติรอบตัว ตุ่นมีส่วนช่วยในการพรวนดิน ทำให้น้ำและอากาศในดินถ่ายเทได้ดี และตัวตุ่นยังเป็นอาหารจำพวกเนื้อสัตว์ที่ให้โปรตีนสูง ชาวบ้านเชื่อว่ากากอาหารในลำไส้ตุ่นเป็นยาสมุนไพรด้วย
ตุ่น เป็นสัตว์สี่เท้าลักษณะคล้ายหนูนา ขาสั้น ลำตัวอ้วนและมีขนฟูกว่า ขนอ่อนนุ่มเหมือนผ้ากำมะหยี่ปกคลุมร่างกาย มีสีเทาดำ สีเหลือง หน้าทู่ มีหนวด มีหางเล็กสั้นประมาณ 1 นิ้ว น่ารักมากกว่าน่ากินเป็นอาหาร เนื่องจากมีลำตัวที่อ้วนจ้ำม่ำ จึงทำให้มันเคลื่อนไหวช้า ไม่เปรียวอย่างหนู มีตาที่ดำสนิทและเล็กมาก ชาวบ้านจะเรียกคนที่ตาเล็กว่าคนตาตุ่น อุปนิสัยไม่ดุร้าย และเชื่องมากกว่าหนูตุ่นมีธรรมชาติที่น่าสนใจ คือ ตุ่นจะขุดรูอยู่ในดิน โดยใช้เล็บเท้าที่แข็งแรงมากขุดดินให้เป็นโพรงอยู่ในรูใต้ดิน ใช้เท้าตะกุยดินส่งผ่านท้องไปด้านหลัง พอได้ดินมากแล้วจะม้วนตัวกลับเพื่อใช้ส่วนหัวดันกองดินขึ้นมาทิ้งที่ผิวดิน เป็นกอง ๆ ปิดรูไว้ซึ่งเรียกว่า โขย จะทำโขยไว้หลาย ๆ แห่ง ห่างกันเป็นระยะ ๆ ใช้โพรงใต้ดินเป็นที่อยู่อาศัย และขุดรูเพื่อหาหัวไม้ รากไม้เป็นอาหาร ตุ่นออกลูกครั้งละประมาณ 3 – 8 ตัว เวลาอยู่ในรูจะอยู่ด้วยกันเป็นครอบครัว มันจะทำที่นอนที่ทำจากเศษหญ้านุ่ม ชาวบ้านเรียกว่า มุ้ง แต่ละตัวจะมีมุ้งเป็นของตัวเองซึ่งจะอยู่บริเวณเดียวกัน ตุ่นจะหาอาหารโดยขุดอุโมงค์หรือรูเข้าไปยังแหล่งอาหารที่อยู่ใต้ดิน ไม่ขึ้นมาให้ผู้คนพบเห็นบนผิวดิน ภายในรูจะทำโพรงเป็นห้องเสบียงไว้เก็บอาหาร ในฤดูฝนซึ่งมีอาหารประเภทหัวที่อยู่ในดินมาก ช่วงนี้ประชากรตุ่นจึงมีมากเช่นกัน จะพบได้ทั่วไปตามป่ากลอย มันจ๊วก มันตีนช้าง มันกู้ มันแกว หัวบอนป่า บอนเบี้ยว หน่อไม้ที่อยู่ในดิน แห้วหมู เป็นต้น แม้ตุ่นจะเป็นสัตว์ที่น่ารักน่าเอ็นดู แต่ความอ้วน มัน เนื้อนุ่มของตุ่นก็เป็นแรงดึงดูดให้คนอยากลิ้มลองรสชาติอร่อยจากมัน ผู้คนจะนิยมนำตุ่นมาทำแกงแค แกงอ่อม กากแห้งแล้วนำมายำแบบพื้นเมือง อ็อก ชาวบ้านบอกว่าตุ่นนำมาทำอาหารได้อร่อยที่สุดคือนำมาทำ ห่อนึ่ง
วิธีการทำห่อนึ่งตุ่นมีดังนี้
1. นำตุ่นที่หาได้มาชำแหละ สับเป็นชิ้น ๆ พอคำ
2. หาผักที่มีตามบ้าน เช่น ผักเผ็ด มะเขือแจ้ มะเขือพวง บ่านอย ดอกข่า เป็นต้น
3. ตำเครื่องแกง ใส่พริกขี้หนูสุก หอมแดง กระเทียม ข่า เม็ดผักชี กะปิ น้ำปลา ตำให้ละเอียด นำไปคลุกกับเนื้อตุ่นและผักที่เตรียมไว้ ใส่ข้าวคั่วเล็กน้อย
4. ห่อด้วยใบตอง นำไปนึ่งให้สุกประมาณ 20 นาที จากนั้นจะได้ห่อนึ่งตุ่นที่อร่อย เนื้อนุ่ม มัน รสชาติพอดีจากเครื่องเทศ โปรตีนจากเนื้อตุ่น วิตามินจากพืชผักจากความอร่อยของตุ่นดังกล่าว ชาวบ้านจึงนิยมหาตุ่นโดยการขุดซึ่งเป็นเกมล่าชีวิตที่น่าตื่นเต้นไม่น้อย ตุ่นจะมีวิธีการหลอกล่อคน แต่คนจะใช้ความพยายามอย่างยิ่งยวด กล่าวคือ เมื่อขุดรูเข้าไปจะเจอรูตุ่นอีกหลายรู ไม่ต่ำกว่า 5 – 10 รู มันจะขุดเป็นอุโมงค์เชื่อมต่อกัน คล้าย ๆ สถานีรถไฟใต้ดินอย่างไรอย่างนั้น มีรูหนีภัยที่เรียกว่า ป่องเป๋ว แต่ถึงอย่างไรชาวบ้านก็ใช้ความพยายามขุดให้เจอตัวตุ่นให้ได้แม้บางครั้งกว่า จะเจอตัวตุ่นต้องขุดลึกถึง 1 – 1.5 เมตรก็ตาม รูตุ่นที่มันขุดไว้หลอกแต่ไม่มีตัวตุ่นอยู่จะขุดไปตามแนวขนานกับพื้นดินอยู่ ลึกประมาณ 40 – 50 เซนติเมตร ชาวบ้านจะเรียกรูชนิดนี้ว่า รูเจียน จะใช้รูเจียนเป็นห้องเสบียง เก็บและกินอาหาร ส่วนรูจริงที่มีตัวตุ่นอาศัยอยู่จะเป็นรูที่ขุดตรงสู่พื้นดิน มีความลึก 1 – 1.5 เมตร เรียกว่า รูดิก ตุ่นอยู่คู่กับวิถีชาวบ้านในชนบทมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ตุ่นที่ฉลาดหลีกพ้นมือมนุษย์ก็สามารถสืบเผ่าพันธุ์ให้คงอยู่ บางตัวที่หมดโอกาสรอดก็สังเวยชีวิตเลี้ยงผู้คนต่อไป

7 ความคิดเห็น:

  1. ไหนละวิธีการเลี้ยงเห็นบอกแต่วิธีการทำมันเป็นอาหารอ้ะค่ะ

    ตอบลบ
  2. ไช่เราต้องการวิธีเลี้ยงแบบให้รอดไม่ไช่เลี้ยงในท้อง

    ตอบลบ
  3. ไช่เราต้องการวิธีเลี้ยงแบบให้รอดไม่ไช่เลี้ยงในท้อง

    ตอบลบ
  4. ขอวิธีเลี้ยงไม่ใช่มาทำอาหาร จะเลี้ยงไม่ใช่กิน หลอกให้อ่านจนจบ ไม่เห็นมีวิธีเลี้ยงเลย

    ตอบลบ
  5. เปลี่ยนชื่อบทความเถอะครับ เนื้อหาไม่ได้ตรงกับชื่อเลย ไม่เห็นมีวิธีเลี้ยงเลยสักนิด แต่ให้ขั้นตอนการทำอาหารมาให้ซะละเอียดเลย

    ตอบลบ
  6. บทความอะไรวะไม่เห็นตรงเลยต้องการอะไร

    ตอบลบ
  7. บทความนี้บั่นทอนจิตใจคนรักตุ่นคนเลี้ยงตุ่นมากจริงๆ โดยเฉพาะประโยคที่บอกว่าชำแหละสับเป็นชิ้นๆ รับไม่ได้จริงๆ

    ตอบลบ