วันศุกร์ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2554

การทำรายงาน

ขั้นตอนการทำรายงานวิชการการ
ขั้นตอนที่ ๑            การเลือกเรื่อง

๑. ๑     มีความสำคัญ  สอดคล้องกับบทเรียน และ เหมาะสมกับระดับชั้นที่กำลังศึกษาอยู่
๑.๒     เป็นสารประโยชน์แก่ตนเอง หรือ สาธารณชน นำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้
๑.๓     เป็นเรื่องที่หาข้อมูลจากสื่อสิ่งพิมพ์  สื่ออิเล็กทรอนิกส์  วัสดุอ้างอิงอื่นๆ ได้ไม่ยากและมีเพียงพอ
๑.๔     ผู้ศึกษามีความสนใจที่จะศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม
๑.๕     แสดงขอบเขตในการดำเนินงานที่ชัดเจน  หลีกเลี่ยงหัวข้อเรื่องที่มีความหมายกว้างผู้ศึกษาไม่เห็นแนวทางที่แน่นอน
๑.๖      พอเหมาะกับความสามารถของผู้ศึกษา และ ระยะเวลาที่กำหนดให้ดำเนินการ
๑.๗     ต้องเตรียมรับปัญหาและอุปสรรคที่จะเกิดขึ้นในระหว่างดำเนินการ
๑.๘     กำหนดวัตถุประสงค์ หรือ จุดมุ่งหมายในการศึกษาค้นคว้าให้ชัดเจนเพื่อช่วยกำหนดทิศทางในการเขียนที่แน่นอนยิ่งขึ้น

ขั้นตอนที่ ๒           การวางโครงเรื่อง

๒.๑     พิจารณาวัตถุประสงค์ในการเสนอเรื่องว่าต้องการเสนออะไรเป็นสำคัญ
๒.๒    ศึกษาข้อมูลจากแหล่งความรู้ที่หลากหลายทั้งสื่อสิ่งพิมพ์  สื่ออีเล็กทรอนิกส์  ภูมิปัญญาชาวบ้าน หรือแหล่งเรียนรู้อื่นๆ คะเนว่าได้ความรู้ที่สมบูรณ์ เพียงพอ แล้วจึงนำมากำหนดโครงเรื่องอย่างคร่าวๆ
๒.๓    ปรับปรุงโครงเรื่องคร่าวๆ ที่วางไว้ในตอนต้นโดยตัดทอนสิ่งที่เกินความต้องการออก  เพิ่มเติมสิ่งที่ขาดหายไป  เรียงลำดับหัวข้อเรื่องให้เหมาะสม  อาจรวมบางข้อเข้าด้วยกัน หรือ แยกหัวข้อที่ใหญ่มากๆ ออกเป็นหัวข้อย่อยที่จะทำให้เนื้อเรื่องชัดเจน  สอดคล้องและครอบคลุมวัตถุประสงค์ที่ต้องการ
ข้อสังเกต     ๑)  การวางโครงเรื่องต้องกระชับ  รัดกุม  เจาะจงเนื้อหา  ไม่ใช้ถ้อยคำกว้างๆ ที่ไม่สามารถแสดงขอบเขต
                ของเรื่องได้
๒)    หัวข้อย่อยทุกหัวข้อต้องสนับสนุนประเด็นสำคัญของเรื่องไม่นำหัวข้อที่มีเนื้อหาที่ไม่เกี่ยวข้องมาปะปนให้เสียเอกภาพ
๓)    กำหนดตัวเลขหรือตัวอักษรกำกับหัวข้อใหญ่  หัวข้อย่อยให้เป็นระบบ
๔)    หัวข้อย่อยทุกหัวข้อในโครงเรื่องจะต้องสอดคล้องกันด้วยเหตุผล
ขั้นตอนที่ ๓           การรวบรวมข้อมูล

สืบค้นข้อมูลตามโครงเรื่องที่วางไว้ทีละหัวข้อ  ทั้งจากสื่อสิ่งพิมพ์/สื่ออีเล็กทรอนิกส์  โดยใช้ทักษะการอ่าน  การฟัง   การดู  การสังเกต  การคิดวิเคราะห์  การซักถาม  ตลอดจนการจดบันทึกข้อมูลสำคัญและแหล่งเรียนรู้ที่ใช้ประกอบการศึกษาค้นคว้าตามแบบบรรณานุกรมที่ถูกต้องทุกขั้นตอน
การเขียนบรรณานุกรมเอกสารอ้างอิงประเภทต่างๆ   ควรเขียนแยกประเภทและเรียงตามลำดับตัวอักษรตัวแรกของชื่อผู้แต่ง

๓.๑     หนังสือ
            ชื่อผู้แต่ง. ปีที่พิมพ์. ชื่อหนังสือ. พิมพ์ครั้งที่. เมืองที่พิมพ์ : ชื่อสำนักพิมพ์/โรงพิมพ์.
หมายเหตุ       ชื่อผู้แต่งถ้ามียศ ตำแหน่ง ฐานันดรศักดิ์ ให้เขียนชื่อตามด้วยเครื่องหมายจุลภาค แล้วจึงต่อด้วยยศ
                 ตำแหน่ง ฐานันดรศักดิ์.

ชื่อสำนักพิมพ์ไม่ต้องใส่คำว่า สำนักพิมพ์ ถ้าเป็นชื่อโรงพิมพ์ต้องระบุคำว่า โรงพิมพ์ ไว้ด้วย ระมัดระวัง
เครื่องหมายวรรคตอนให้ถูกต้อง

๓.๒    บทความในวารสาร
            ชื่อผู้เขียนบทความ. ชื่อบทความ. ชื่อวารสาร.  ปีที่ (ฉบับที่) : หน้าที่อ้างถึง.
๓.๓    บทความในหนังสือพิมพ์
            ชื่อผู้เขียนบทความ.  ปีที่พิมพ์, วันที่  เดือน. ชื่อบทความ. ชื่อหนังสือพิมพ์. หน้าที่อ้างถึง.
๓.๔    บทสัมภาษณ์
            ชื่อผู้ให้สัมภาษณ์. ตำแหน่ง (ถ้ามี). สถานที่สัมภาษณ์, วัน เดือน ปี ที่สัมภาษณ์.
๓.๕    สื่ออีเล็กทรอนิกส์
       เว็บไซต์      ชื่อผู้แต่ง. ปีที่สืบค้น. ชื่อเรื่อง. (ออนไลน์). แหล่งที่มา : URL. (วันเดือนปีที่สืบค้นข้อมูล : 
                                         ..........)

         ซีดี-รอม      ชื่อผู้บรรยายหรือผู้ขับร้อง. ปีที่ผลิต.  ชื่อเรื่อง.  (ซีดี-รอม). สถานที่ผลิต : ผู้ผลิต.

ขั้นตอนที่ ๔           การเรียบเรียงข้อมูล

๔.๑    ก่อนเริ่มเรียบเรียงในหัวข้อแรกผู้เขียนต้องนำเสนอความเป็นมา/ความสำคัญของปัญหา วัตถุประสงค์และขอบเขตของรายงาน
๔.๒   เรียบเรียงสาระสำคัญทีละหัวข้อตามขอบเขตหรือโครงเรื่องที่วางไว้  โดยนำเสนอรายละเอียด ข้อเท็จจริง และแสดงความคิดเห็นในประเด็นต่างๆ ให้ชัดเจน ด้วยสำนวนภาษาของตนเอง ใช้ประโยคสั้นๆ ตรงไปตรงมา  ไม่สับสนวกวน  เน้นตอนสำคัญ  ไม่ใช้ภาษาฟุ่มเฟือย  เล่นสำนวน  ย้ำคำหรือความโดยไร้ประโยชน์   เขียนแต่ละประโยคให้ได้ใจความที่สมบูรณ์

๔.๓   การคัดลอกข้อความจากแหล่งความรู้ที่ได้ศึกษามาโดยตรงควรทำเมื่อต้องการใช้ข้อความนั้นสนับสนุนเรื่องที่กำลังเขียน และ ต้องการอ้างอิงคำกล่าวของผู้รู้มาประกอบ หรือ เพื่อแสดงให้เห็นเป็นตัวอย่าง ซึ่งจะช่วยให้ข้อเขียนนั้นมีน้ำหนักที่น่าเชื่อถือ และ เป็นการแสดงมารยาทในการเขียน  ให้เกียรติแก่ผู้เป็นเจ้าของข้อมูลที่คัดลอกมานำเสนอ  การคัดลอกข้อความจากแหล่งอ้างอิงมาประกอบในรายงานวิชาการ ควรปฏิบัติดังนี้
            ๑)  คัดลอกข้อความให้เหมือนต้นฉบับเดิมทุกประการโดยไม่แทรกคำ/ข้อความอื่นใด
            ๒)  ก่อนคัดลอกควรกล่าวนำในเนื้อเรื่องว่าเป็นถ้อยคำของใคร  สำคัญอย่างไร จึงคัดลอกเอามาประกอบในรายงาน
            ๓)  ข้อความที่คัดลอกมาควรอยู่ภายใต้เครื่องหมายอัญประกาศ
๔.๔    แก้ไขปรับปรุงข้อความให้สมบูรณ์ โดยมีขั้นตอนดังนี้
         ๑)  อ่านทบทวนตั้งแต่ต้นจนจบให้ละเอียดเพื่อให้แน่ใจว่าในแต่ละตอนมีเนื้อความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เนื้อเรื่องได้
  สัดส่วน  มีเหตุผลตามหัวข้อเรื่องที่กำหนดไว้
๒)    พิจารณาว่ารายงานแต่ละตอนถูกต้องชัดเจนหรือไม่ ตรงตามจุดมุ่งหมายเพียงใด และ สรุปประเด็นให้ถูกต้อง
๓)    ตรวจดูสำนวนภาษาที่ใช้ในรายงานให้ละเอียด  เลือกใช้คำให้ตรงกับความหมาย  ผูกประโยคให้ได้ใจความและเชื่อมความให้ต่อเนื่องกัน  ใช้ภาษาและตัวสะกดให้ถูกต้อง
๔)    แทรกรูปภาพ  ตาราง  แผนภูมิ  เพื่อช่วยส่งเสริมความเข้าใจในการอ่าน
ขั้นตอนที่ ๕           การจัดทำรูปเล่ม
         รายงานวิชาการมีองค์ประกอบต่างๆ ที่สำคัญอย่างน้อย ๕ ส่วน แต่ละส่วนจะมีลักษณะสำคัญและรายละเอียดพอสรุปดังนี้
๕.๑    ปกนอก      ควรทำด้วยกระดาษปกซึ่งหนากว่ากระดาษที่ใช้พิมพ์รายงาน  ประกอบด้วย  ชื่อรายงาน  ชื่อผู้จัดทำ 
                      เสนอต่อใคร และ รายงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษารายวิชา.........  รหัสวิชา..............  ชั้น
                      มัธยมศึกษาปีที่ ...... ภาคเรียนที่......  ปีการศึกษา .........
         ปกใน    ใช้กระดาษเช่นเดียวกับที่พิมพ์รายงาน  รายละเอียดเหมือนปกนอก  ยกเว้นกรณีเป็นงานกลุ่ม  ปกนอก
                 อาจระบุเพียงชื่อกลุ่ม  แต่ปกในต้องระบุรายนามสมาชิกภายในกลุ่ม  พร้อมชื่อ-นามสกุล  ห้อง และเลขที่
                     ให้ครบทุกคน

๕.๒    คำนำ        เป็นส่วนที่นำเสนอวัตถุประสงค์  ขอบเขต  แนวทางวิธีดำเนินการโดยสังเขป  ตลอดจนการแสดง
                   ความขอบคุณต่อผู้มีอุปการคุณที่ช่วยสนับสนุนให้การทำรายงานสำเร็จสมบูรณ์อย่างมีประสิทธิภาพ

๕.๓    สารบัญ     นำเสนอหัวข้อสำคัญของรายงาน  โดยทั่วไปอาจใช้โครงเรื่องที่นำเสนอมาเขียนเป็นสารบัญ  โดย
                   ระบุเลขที่หน้าที่เริ่มต้นหัวข้อนั้นๆ ไว้ให้ชัดเจน  หากเรื่องมีข้อมูลสลับซับซ้อนอาจนำเสนอหัวข้อย่อย
                        ประกอบให้ชัดเจนยิ่งขึ้น

๕.๔    เนื้อหาสาระ             เรียบเรียงตามหลักการในขั้นตอนที่ ๔  ลำดับเลขหน้าตามโครงเรื่องที่วางไว้

๕.๕    บรรณานุกรม          จำแนกเป็นสื่ออ้างอิงประเภทสิ่งพิมพ์ และ สื่ออิเล็กทรอนิกส์  แต่ละประเภทเรียงลำดับ
                           ตามตัวอักษรของชื่อผู้แต่ง    หากผู้แต่งมียศถาบรรดาศักดิ์นำหน้าให้ใช้ชื่อขึ้นก่อนตามด้วย
                                 เครื่องหมายจุลภาคแล้วจึงนำยศถาบรรดาศักดิ์มาต่อท้าย   เช่น    
                                            กุสุมา  รักษมณี, ศาสตราจารย์เกียรติคุณ     เป็นต้น

๕.๖     ภาคผนวก          เป็นองค์ประกอบที่มีหรือไม่ก็ได้ นิยมจัดทำขึ้นเพื่อนำเสนอรายละเอียดปลีกย่อยเพื่อเสริมรายงานให้
                             กระจ่างชัด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น