วันพุธที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2554

หลักการใช้เทคโนโลยี

เทคโนโลยีการศึกษา

บทที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเทคโนโลยีและนวัตกรรมการศึกษา


.............เทคโนโลยีการศึกษา ..หมายถึง กระบวนการหรือวิธีการในการนำความรู้เรื่องแนวคิดมาประยุกต์องค์ประกอบหรือองค์ความรู้ต่างๆ มาใช้อย่างเป็นระบบเพื่อให้การดำเนินงานในวงการต่างๆ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพลักษณะของเทคโนโลยี สามารถจำแนกออกได้ 3 ลักษณะ
1. เทคโนโลยีในลักษณะกระบวนการ (process) เป็นการใช้วิทยาศาสตร์และความรู้ต่างๆที่รวบรวมไว้อย่างเป็นระบบ เพื่อนำไปสู่ผลในการปฏิบัติ
2. เทคโนโลยีในลักษณะของผลผลิต (product) หมายถึง วัสดุหรืออุปกรณ์ที่เป็นผลมาจากการใช้การะบวนการทางเทคโนโลยี
3. เทคโนโลยีในลักษณะผสมของกระบวนการและผลผลิต (process and product) เช่น เทคโนโลยีช่วยให้ระบบการรับส่งข้อมูลเป็นไปได้อย่างรวดเร็ว เป็นผลมาจากความก้าวหน้าของอุปกรณ์เพื่อการรับส่งข้อมูล
หลักการใช้เทคโนโลยี
1. ประสิทธิภาพของงาน (efficiency) เทคโนโลยีต้องช่วยให้การดำเนินงานบรรลุเป้าหมายและรวดเร็ว สามารถตรวจสอบได้
2. ประสิทธิผล (productivity) ต้องช่วยให้การทำงานได้ผลออกมาอย่างเต็มที่
3. ประหยัด (economy) ทั้งเวลาและแรงงาน ลงทุนน้อยแต่ได้ผลมากกว่าทุน
เทคโนโลยีกับงานสาขาต่างๆทางการทหาร หมายถึง กระบวนการ วิธีการนำเอาความรู้ แนวคิด หรือผลิตกรรมทางวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ มาประยุกต์ใช้อย่างเป็นระบบ เพื่อให้การดำเนินงานทางการทหารเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
ทางการแพทย์ หมายถึง กระบวนการ วิธีการนำเอาความรู้ แนวคิด หรือผลิตกรรมทางวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ มาประยุกต์ใช้อย่างเป็นระบบ เพื่อให้การดำเนินงานทางการแพทย์เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
ความหมายของเทคโนโลยีการศึกษา
เทคโนโลยีการศึกษา หมายถึง การประยุกต์ใช้สหวิทยาอย่างเป็นระบบเพื่อให้ได้แนวคิด เครื่องมือ เทคนิคและวิธีกาต่างๆ เพื่อนำไปใช้ในการป้องกันและแก้ไขปัญหา และพัฒนาการเรียนรู้ให้มีประสิทธิภาพตามจุดมุ่งหมาย
ความสำคัญของเทคโนโลยีการศึกษา
1. สามารถทำให้มีการเรียนการสอน การศึกษามีความหมายมากขึ้น ผู้เรียนเรียนได้กว้างขวางมากขึ้น เรียนได้เร็วขึ้น เข้าใจได้อย่างสมบูรณ์ ทำให้ครูมีเวลาให้แก่นักเรียนมากขึ้น
2. สามารถสนองเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคลได้ ผู้เรียนมีอิสระในการเรียนรู้ มีความรับผิดชอบ
3. สามารถทำให้การจัดการศึกษาตั้งอยู่บนรากฐานของวิธีทางวิทยาศาสตร์ ค้นพบวิธีใหม่ๆ และสมเหตุสมผลตามความเปลี่ยนแปลงของสังคม
4. ช่วยให้การศึกษามีพลังมากขึ้น
5. ทำให้การเรียนรู้อยู่แค่เอื้อม
6. ทำให้เกิดความเสมอภาคทางการศึกษา
พระราชบัญญัติเกี่ยวกับเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา
มาตรา 63 รัฐต้องจัดสรรคลื่นความถี่ สื่อตัวนำและโครงสร้างพื้นฐานอื่นที่จำเป็นต่อการส่งวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ วิทยุโทรคมนาคม และการสื่อสารในรูปแบบอื่น เพื่อใช้ประโยชน์สำหรับการศึกษาในระบบมาตรา 64 รัฐต้องส่งเสริมและสนับสนุนจัดให้มีแบบเรียน ตำรา วัสดุอุปกรณ์ เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาอื่นอย่างเร่งรัด พัฒนาขีดความสามารถในการผลิต มีเงินสนับสนุน เปิดให้มีการแข่งขันโดยเสรีภาพและเป็นธรรม
มาตรา 65 ให้มีการพัฒนาบุคลากรและผู้ใช้เทคโนโลยี เพื่อให้มีความรู้ความสามารถและทักษะการผลิต รวมทั้งการใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม มีคุณภาพและประสิทธิภาพ
มาตรา 66 ผู้เรียนมีสิทธิได้รับการพัฒนาขีดความสามารถในการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาในโอกาสแรกที่ทำได้ เพื่อแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง
มาตรา 67 รัฐต้องส่งเสริมการวิจัยและการพัฒนาการผลิตและเทคโนโลยี รวมทั้งการติดตาม การตรวจสอบ และประเมินผล เพื่อให้เกิดการใช้อย่างคุ้มค่า เหมาะสมกับกระบวนการเรียนรู้ของคนไทย
มาตรา 68 ให้มีการระดมทุนเพื่อจัดตั้งกองทุนพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง
มาตรา 69 รัฐต้องจัดให้มีหน่วยงานกลาง ทำหน้าที่พิจารณาเสนอนโยบายแผนส่งเสริมและประสานการวิจัยการพัฒนาและการใช้ รวมทั้งการประเมินคุณภาพและประสิทธิภาพของการผลิต และการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา
เทคโนโลยีการสอนเทคโนโลยีการสอน คือ ภาพของการแสวงหาแนวทางและวิธีปฏิบัติ เพื่อพัฒนากระบวนการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นทัศนะเกี่ยวกับเทคโนโลยีการศึกษาและเทคโนโลยีการสอน1. ทางวิทยาศาสตร์กายภาพ มุ่งเน้นวัสดุอุปกรณ์ หรือผลผลิตทางวิศวกรรมเป็นสำคัญ2. ทางพฤติกรรมศาสตร์ มุ่งเน้นไปที่พฤติกรรมเป็นสำคัญ
นวัตกรรม
...หมายถึง ความคิดหรือการกระทำใหม่ๆ ที่นำมาใช้ในการแก่ปัญหาหรือปรับปรุงงานให้ได้ผลดียิ่งขึ้นนวัตกรรมการศึกษา หมายถึง ความคิดหรือวิธีการปฏิบัติใหม่ๆ ที่ได้ผ่านการพิสูจน์ ทดลอง จนเป็นที่ยอมรับและเชื่อถือได้ นำมาใช้ส่งเสริม ปรับปรุงระบบทางการศึกษาให้ดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ
ข้อสังเกตเกี่ยวกับสิ่งที่เป็นนวัตกรรม
1. เป็นความคิดหรือการกระทำอย่างใดอย่างหนึ่ง เพื่อจะนำมาปรับปรุงงานเดิมให้ดีขึ้น
2. ความคิดหรือการกระทำนั้นมีการพิสูจน์ด้วยการวิจัยทดลอง นำมาใช้แล้วสามารถแก้ปัญหาได้
3. มีการนำวิธีระบบมาใช้อย่างชัดเจน
4. ความคิดหรือการกระทำใหม่ๆขั้นตอนการเกิดนวัตกรรมการนำวิธีการใหม่ๆมาปฏิบัติหลังจากได้ผ่านการทดลอง หรือได้รับการพัฒนาการเป็นขั้นๆแล้ว โดยเริ่มมาตั้งแต่การคิดค้นและการพัฒนา ซึ่งอาจเป็นไปในรูปแบบของโครงการทดลองปฏิบัติมาก่อนแล้ว จึงนำมาปฏิบัติจริง ซึ่งมีความแตกต่างจากการปฏิบัติเดิมความสัมพันธ์ระหว่างเทคโนโลยีและนวัตกรรมนวัตกรรมและเทคโนโลยีมีความหมายอย่างเดียวกันคือ ทำให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
ขอบเขตของเทคโนโลยีและนวัตกรรมการศึกษา
1. หน้าที่ในการจัดการศึกษา มีจุดมุ่งหมายที่จะชี้แนวทางและพัฒนาการศึกษาและการสอนให้ดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ
2. หน้าที่ในการพัฒนาการศึกษา เป็นการวิเคราะห์ คิดหาวิธีแก้ปัญหา การวิจัย การออกแบบ ให้แก่แหล่งการเรียนทั้งหลาย
3. แหล่งการเรียน ที่จะนำมาทำให้การเรียนรู้ง่ายขึ้น ได้ผลตามจุดหมายของการเรียน
4. ผู้เรียน ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ
โดยมีจุดมุ่งหมายให้ผู้เรียนได้พัฒนาไปสู่การเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ
สาเหตุที่นำเอาเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาใช้ในการศึกษา
1. การเพิ่มจำนวนประชากร มีผลทำให้การดำเนินชีวิตของมนุษย์และสังคมเกิดปัญหา ดังนั้นการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาใช้ จะช่วยให้การศึกษาเป็นไปอย่างรวดเร็วและทั่วถึงอย่างมีประสิทธิภาพ
2. การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคม การนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาใช้ จะช่วยให้ผู้เรียนมีโอกาสได้รับการศึกษาตลอดชีวิตสะดวกขึ้น
3. ความก้าวหน้าทางวิทยาการใหม่ๆ การศึกษาจำเป็นต้องได้รับการปรับปรุงทั้งโครงสร้างและองค์ประกอบหลัก ได้แก่ หลักสูตร เนื้อหา วิธีสอน ให้เหมาะสมกับเครื่องมือหรือวิธีการที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วความสำคัญของเทคโนโลยีและนวัตกรรมการศึกษาต่อการเรียนการสอน
1. ช่วยให้ผู้เรียน เรียนรู้ได้อย่างกว้างขวางและเข้าใจถูกต้องชัดเจนยิ่งขึ้น
2. สนองตอบเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคล โดยผู้เรียนมีอิสระในการแสวงหาความรู้ได้ด้วยตนเอง
3. ทำให้การจัดการศึกษามีคุณภาพสูงขึ้น
4. มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาสื่อการเรียนการสอนอย่างเป็นระบบ
5. ทำให้กระบวนการเรียนรู้ไม่เน้นเฉพาะการเรียนรู้เพียงอย่างเดียว แต่เน้นด้านจิตพิสัยและทักษะพิสัยไปด้วย6. ช่วยเพิ่มโอกาสทางการศึกษาแก่ประชากรมากขึ้น
แนวคิดในการใช้เทคโนโลยีการศึกษากับการศึกษาไทย
1. คนไทยส่วนใหญ่ไม่นับถือตนเอง ผู้เรียนไม่มีโอกาสได้พูดและแสดงความคิดเห็นจึงคอยเชื่อฟังคนอื่น เมื่อนานเข้าทำให้ขาดความนับถือคนเอง
2. คนไทยส่วนใหญ่ไม่เห็นคุณค่าของสิ่งแวดล้อม ในอดีตหลักสูตรเนื้อหาไม่เอื้อต่อผู้เรียน จึงทำให้ผู้เรียนขาดการชื่นชมธรรมชาติแวดล้อมตนเอง การจัดการศึกษาส่งเสริมให้เขาได้เห็นคุณค่าของสิ่งแวดล้อมดียิ่งขึ้น

การเลี้ยงกบ

เลี้ยงกบในบ่อปูนซีเมนต์
เงินลงทุน
             ประมาณ 8,000 บาท ต่อการเลี้ยงกบในบ่อปูนซีเมนต์ 4 บ่อ

รายได้

             ครั้งแรก 16,000 - 24,000 บาท

วัสดุ/อุปกรณ์
             แม่พันธุ์-พ่อพันธุ์กบ ไม้ไผ่ทำแพหรือแผ่นโฟมทางมะพร้าว บ่อซีเมนต์ อาหารเม็ดสำหรับเลี้ยงลูกกบและกบโต

แหล่งจำหน่ายพันธุ์กบ


            ฟาร์มเลี้ยงกบทั่วไป

วิธีดำเนินการ
          1. การเลี้ยงกบควรเลือกพื้นที่เป็นที่สูงหรือที่ดอน มีลักษณะราบเสมอ ใกล้แหล่งน้ำ เพื่อสะดวกต่อการถ่ายเทน้ำ แต่ควรให้ห่างจากถนนเพื่อป้องกันเสียงรบกวน

          2. สร้างบ่อซีเมนต์ขนาดกว้าง 1 เมตร ยาว 1.5 เมตร สูง 1 เมตร เพื่อใช้เพาะพันธุ์กบ จำนวน 1 บ่อ และสร้างบ่อขนาดกว้าง 3 เมตร ยาว 4 เมตร จำนวน 3 บ่อ โดยก่อแผ่นซีเมนต์และฉาบด้วยปูนซีเมนต์ ปูนที่ฉาบควรหนาเป็นพิเศษ ตรงส่วนล่างที่เก็บขังน้ำสูงจากพื้น 1 ฟุต พื้นล่างเทปูนหนาเพื่อรองรับน้ำ และมีท่อระบายน้ำอยู่ตรงส่วนที่ลาดที่สุด

         3. พันธุ์กบที่จะเพาะเลี้ยง ควรเลือกกบนา เพราะเจริญเติบโตเร็ว และเป็นที่นิยมของผู้บริโภค กบนาตัวผู้มีขนาดเล็กกว่าตัวเมีย เมื่อจับพลิกหงายขึ้นจะเห็นกล่องเสียงอยู่ใต้คางแถวมุมปากส่วนตัวเมียมองไม่เห็นกล่องเสียง
การเพาะพันธุ์กบ
             ล้างบ่อซีเมนต์ให้สะอาด ใส่น้ำลงไปให้ได้ความลึกประมาณครึ่งฟุต แล้วหาวัชพืชน้ำมาใส่ไว้เพื่อให้ไข่กบเกาะ จากนั้นนำพ่อพันธุ์-แม่พันธุ์กบ 1คู่มาใส่ไว้รวมกันประมาณ 2-3 คืน กบจะผสมพันธุ์และวางไข่ในช่วงเวลา 04.00-06.00 น. เมื่อเห็นว่ากบออกไข่แล้วให้นำพ่อพันธุ์-แม่พันธุ์ออกจากบ่อ เพื่อป้องกันไม่ให้แพไข่แตก


การอนุบาลลูกกบวัยอ่อน

            เมื่อไข่กบฟักออกเป็นตัวอ่อนแล้ว ช่วง 2 วันแรกไม่ต้องให้อาหาร เพราะลูกอ๊อดยังใช้ไข่แดงที่ติดมาเลี้ยงตัวเอง หลังจากนั้นจึงเริ่มให้อาหารเม็ดสำหรับลูกกบวันละ1 ครั้ง ครั้งละประมาณ 1 กำมือ หรืออาจให้ไข่แดงบดเป็นอาหารแทนก็ได้ ซึ่งเฉลี่ยแล้วใช้วันละ 2-3 ฟองต่อลูกอ๊อด 1 ครอกเมื่อลูกอ๊อดมีอายุ 20-30 วัน จึงเป็นลูกกบเต็มวัย ในช่วงนี้ต้องนำไม้ไผ่มาทำเป็นแพหรือแผ่นโฟมลอยน้ำเพื่อให้ลูกกบเต็มวัยขึ้นไปอาศัยอยู่ เพราะลูกอ๊อดจะโตเต็มวัยไม่พร้อมกัน อาจมีการรังแกกันจนเกิดแผลทำให้ลูกกบตายได้ ดังนั้น จึงต้องลงมือคัดลูกกบขนาดตัวยาว 2 เซนติเมตร ไปเลี้ยงในบ่อที่เตรียมไว้ บ่อละ 1,000 ตัว

การดูแลและเลี้ยงกบเต็มวัยจนเป็นกบโต
           เมื่อคัดลูกกบนำไปเลี้ยงในบ่อแล้ว ใส่วัชพืชน้ำและวัสดุลอยน้ำลงไป เช่น แพไม้ไผ่หรือแผ่นโฟม เพื่อให้กบขึ้นไปอาศัยอยู่ และนำทางมะพร้าวมาคลุมบ่อเพื่อบังแดดด้วยในช่วงที่คัดลูกกบลงบ่อซีเมนต์ใหม่ ๆ นี้ ให้ใช้อาหารเม็ดสำหรับเลี้ยงลูกกบไประยะหนึ่งก่อนเมื่อกบโตขึ้นจึงค่อยให้อาหารเม็ดสำหรับเลี้ยงกบโตวันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น ในอัตรา 3% ของน้ำหนักตัวกบ คือ ถ้ากบน้ำหนัก 100 กิโลกรัม ก็ให้อาหารวันละ 3 กิโลกรัมในขั้นตอนนี้ใช้เวลาเลี้ยงประมาณ 3 เดือน ก็สามารถจับกบจำหน่ายได้

ตลาด/แหล่งจำหน่าย
           ส่งขายตามตลาดสดทั่วไป หรือร้านอาหาร

สถานที่ให้คำปรึกษา
          1. กองส่งเสริมการประมง กรมประมง โทร. 561-4689
          2. สำนักงานประมงจังหวัดและอำเภอ
ข้อแนะนำ
          1. การเลี้ยงกบต้องระวังเรื่องความสะอาดขณะสูบบุหรี่ใกล้บริเวณบ่อ  ระวังอย่าให้ขี้บุหรี่ตกลงไปในบ่อเด็ดขาด เพราะลูกกบจะตายยกบ่อ
          2. การเลี้ยงกบ  ต้องคัดลูกกบขนาดเท่ากันไปเลี้ยงในบ่อเดียวกันห้ามเลี้ยงลูกกบคนละขนาดเด็ดขาด เพราะลูกกบจะกินกันเอง
          3. การเลี้ยงกบควรกะระยะเวลา 4 เดือน ในการจับจำหน่าย อย่าให้ตรงกับช่วงฤดูฝน เพราะกบราคาถูก
          4.  อาหารกบ นอกจากอาหารเม็ดแล้ว  สามารถใช้เนื้อปลาสับหรือเนื้อหอยโข่งก็ได้
          5. ก่อนที่จะปล่อยแม่พันธุ์กบลงผสมพันธุ์ ต้องสังเกตแม่พันธุ์กบว่าตัวเริ่มฝืด มีปุ่มหนาม แสดงว่าพร้อมจะผสมพันธุ์ หากปล่อยลงไปแล้ว 2-3 วัน ยังไม่เห็นไข่กบก็จับพ่อพันธุ์-แม่พันธุ์มาแยกเลี้ยงอีกระยะหนึ่ง แล้วค่อยนำมาผสมพันธุ์ใหม่
    -----------------------------
ที่มา : ส่งเสริมการมีงานทำ , กอง กรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม,"เลี้ยงกบในบ่อปูนซีเมนต์," 150 อาชีพเส้นทางประกอบอาชีพอิสระกรุงเทพฯ,2544 ,หน้า 222-223.
คำไข การดำเนินธุรกิจ เลี้ยงกบในบ่อปูนซีเมน

การเลี้ยงกุ้ง

การแปรรูปผลิตภัณฑ์

การแปรรูปผลิตผลทางการเกษตร
    การนำผลผลิตทางการเกษตรมาแปรรูปจะช่วยป้องกันการล้นตลาดของผลิตผลสด ซึ่งช่วยยกระดับราคาผลิตผลไม่ให้ตกต่ำ การเพิ่มมูลค่าของผลิตผลทางการเกษตรมาแปรรูปเป็นอาหารระดับอุตสาหกรรม ที่สามารถรับวัตถุดิบเพื่อผลิตเป็นอาหารจำนวนมากได้ การผลิตอาหารให้ได้มาตรฐานเพื่อความปลอดภัยต่อผู้บริโภค การส่งเสริมให้ผลิตภัณฑ์แปรรูปอาหารให้เป็นที่ยอมรับ และสามารถขยายตลาดการค้าออกไปสู่ต่างประเทศ จะช่วยเพิ่มพูนรายได้ให้แก่ประเทศได้เป็นอย่างดี
    เทคนิคในการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรมีหลายขั้นตอน แต่ที่สำคัญและจะเป็นแรงจูงใจสามารถทำผลิตภัณฑ์ต่างๆ ให้เกิดประโยชน์คุ้มค่า คุ้มราคา และผลิตภัณฑ์นั้นจะต้องมีความอร่อย ความสะอาด แบบคงเส้นคงวาหรือเสมอต้นเสมอปลาย ไม่ใช่ทำครั้งแรกอร่อยทุกคนติดใจในรสชาติ สามารถทำรายได้ให้มากมาย พอเริ่มมีคนรู้จัก คุ้นตาชินต่อรสชาติ ก็จะเริ่มทำผลิตภัณฑ์เพื่อให้มีผลกำไรมากๆ ความสำคัญของรสชาติอาจด้อยไป สิ่งเหล่านี้จะทำให้ทุกคนเสื่อมความศรัทธาได้ จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องคำนึงถึง
  1. ความซื่อสัตย์ต่อตนเองและลูกค้า
  2. ต้องมีการวางแผนผลิตสินค้านั้นล่วงหน้า และเหมาะสมกับฤดูกาล เพื่อสินค้านั้นจะมีต้นทุนต่ำขายได้ราคาสูง
  3. ต้องมีความสนใจ และตั้งใจต่อการทำผลิตภัณฑ์นั้น เพื่อให้มีความสม่ำเสมอของรสชาติและคุณภาพที่ดี
  4. ต้องคำนึงถึงความสะอาดความปลอดภัยเสมอ
  5. ต้องมีความรู้ในสารปรุงแต่งอาหารที่ใช้อย่างแม่นยำ การแปรรูปผลิตผลการเกษตร ถ้าต้องการให้ผลิตภัณฑ์นั้นมีคุณภาพดีจะต้องให้ความสนใจต่อสิ่งเหล่านี้
    1. การคัดเลือกวัตถุดิบเพื่อการแปรรูปจะต้องมีลักษณะและคุณภาพตรงตามชนิดของอาหาร และต้องคำนึงถึงเวลา แรงงาน และค่าใช้จ่ายในการเตรียมวัตถุดิบด้วย
    2. การแปรรูปเพื่อถนอมอาหารแบบใช้ความร้อนสูง จะช่วยทำลายจุลินทรีย์ที่ก่อให้เกิดโรค ซึ่งทำให้อาหารเน่าเสีย ทำลายเอ็นไซม์ สารพิษ พยาธิที่ไม่ทนต่อความร้อน การแปรรูปโดยใช้ความร้อน กระทำได้ 2 วิธี คือ
      1. การพาสเจอร์ไรซ์ คือ วิธีที่ถนอมอาหาร โดยใช้ความร้อนที่อุณหภูมิไม่สูงมากนักเพื่อทำลายแบคทีเรียพวกที่ไม่สร้างสปอร์ และพวกที่ก่อให้เกิดโรคแก่คน ส่วนจุลินทรีย์อื่นๆ ที่ทนความร้อนระดับพาสเจอร์ไรซ์จะเป็นสาเหตุทำให้อาหารเสียได้ ดังนั้น อาหารที่ผ่านการพาสเจอร์ไรซ์ต้องอาศัยความเย็นช่วยเก็บรักษา
      2. การสเตอริไลซ์ คือ วิชาการถนอมอาหารโดยใช้ความร้อนที่อุณหภูมิสูงกว่าการพาสเจอร์ไรซ์ ซึ่งอาจเป็นอุณหภูมิสูงกว่าน้ำเดือด เพื่อทำลายจุลินทรีย์ทั้งหมดรวมทั้งสปอร์อาหารที่ได้จากการสเตอริไลซ์ จึงเป็นอาหารปลอดเชื้อ เก็บรักษาไว้ได้นาน โดยไม่ต้องใช้ความเย็นช่วย การสเตอริไลซ์น้ำนมวัว กระบวนการ UHT (Ultrahigh temperature) นิยมใช้อุณหภูมิ 135-150 0 ซ นาน 1-4 วินาที ซึ่งมีวิธีให้ความร้อน 2 แบบ คือ
        ก. ทางอ้อม เป็นการให้ความร้อนผ่านแผ่นแลกเปลี่ยนความร้อน
        ข. ทางตรง เป็นการใช้ไอน้ำร้อนจัดเป็นตัวกลางให้ความร้อน โดยอัดลงไปในอาหารโดยตรงแล้วจึงผ่านไปยังเครื่องระเหยน้ำส่วนที่เกินออกไปภายใต้ภาวะสุญญากาศ
    การแปรรูปอาหารโดยการทำให้แห้ง คือ การลดความชื้นของอาหารจนถึงระดับที่สามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อจุลินทรีย์ได้ คือ มีค่าวอเตอร์แอกติวิตี้ (water activity : Aw) ต่ำกว่า 0.70 ทำให้เก็บอาหารได้นานอาหารแห้งแต่ละชนิดจะมีความชื้นในระดับที่ปลอดภัยไม่เท่ากัน เช่น ผลไม้แช่อิ่มเก็บที่ความชื้น ร้อยละ 15-20 ถ้าเป็นเมล็ดธัญชาติความชื้นระดับนี้จะเกิดรา
     การทำแห้งอาหารโดยทั่วไปจะอาศัยความร้อนส่งผ่านเข้าไปให้น้ำในอาหาร เพื่อทำให้น้ำในอาหารเคลื่อนที่และระเหยออกจากผิวอาหาร และประสิทธิภาพในการเคลื่อนของน้ำมาที่ผิวอาหาร ธรรมชาติของอาหาร ถ้าเป็นผักก็จะแห้งเร็วกว่าผลไม้ เพราะผลไม้มีน้ำตาลเป็นองค์ประกอบอยู่ด้วย
     การทำให้แห้งโดยใช้ความร้อนจากแสงอาทิตย์ ในสมัยโบราณมักจะตากแดด ซึ่งไม่สามารถควบคุมความร้อนและคุณภาพของผลิตภัณฑ์ได้ จึงมีการสร้างตู้อบโดยใช้ความร้อนจากแสงอาทิตย์ ประกอบด้วยแผงรับแสงอาทิตย์ซึ่งทำด้วยวัสดุใส แสงอาทิตย์ตกลงบนแผงรับแล้วทะลุผ่านไปยังวัสดุสีดำภายในตู้ และเปลี่ยนเป็นรังสีความร้อนไปกระทบอาหาร ความชื้นระเหยออกจากอาหารจะระบายไปโดยการหมุนเวียนของอากาศทางช่องลม นอกจากนี้ยังมีกระบวนการทำให้แห้งได้อีกหลายวิธี คือ  
  • การทำให้แห้งโดยใช้ลมร้อน (ตู้อบลมร้อน)
  • การทำให้แห้งโดยใช้ลูกลิ้ง
  • การทำให้แห้งแบบเยือกแข็ง
  • การทำให้แห้งโดยใช้ไมโครเวฟ
  • การทำให้แห้งโดยใช้วิธีออสโมซิส
วัตถุประสงค์ของการใช้วัตถุเจือปนอาหาร
  1. เพื่อสงวนคุณค่าทางโภชนาการของอาหาร
  2. เพื่อยืดอายุการเก็บหรือช่วยให้อาหารนั้นมีคุณภาพคงที่ หรือช่วยปรับปรุงคุณภาพในด้านเกี่ยวกับ สี กลิ่น รส ลักษณะสัมผัสและลักษณะปรากฏ โดยที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงคุณสมบัติหรือคุณค่าอาหาร
  3. เพื่อประโยชน์ในด้านเกี่ยวกับเทคนิคในการแปรรูปกรรมวิธีการแปรรูปการเตรียมวัตถุดิบ การบรรจุ การขนส่ง และอายุของการเก็บของผลิตภัณฑ์นั้นๆ
ชนิดของสารเจือปนที่นิยมใช้ในผลิตภัณฑ์ผักและผลไม้
    กรด การใช้กรดในผลิตภัณฑ์ผักและผลไม้ เพื่อช่วยปรับปรุงกลิ่น รส และสีของผลิตภัณฑ์ให้ได้ขึ้น ป้องกันปฏิกิริยาการเกิดสีน้ำตาล และยังช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ ทำให้เก็บผลิตภัณฑ์ให้ดีขึ้น นอกจากนี้กรดยังช่วยลดอุณหภูมิที่ต้องใช้ในการแปรรูปของผลิตภัณฑ์ประเภทผักและผลไม้ การเลือกใช้กรดจะขึ้นอยู่กับชนิดของกรดที่มีอยู่มากในผลไม้/ผักนั้น ผลไม้ทั่วไปส่วนมากจะมีกรดซิตริก (กรดมะนาว) องุ่นมีกรดทาร์ทาริก (หรือเรียกว่า กรดมะขาม) เป็นต้น
    สารที่ให้คงรูป (แคลเซียมคลอไรด์) สารคงรูป เพื่อปรับปรุงคุณภาพทางด้านเนื้อสัมผัสของผัก และผลไม้ให้ดีขึ้น สารคงรูปที่รู้จักกันตั้งแต่สมัยโบราณ คือ ปูนขาว ปูนแดง และสารส้ม แต่เนื่องจากสารเหล่านี้ มักมีองค์ประกอบอื่นๆ ที่มีผลต่อคุณภาพของผลิตภัณฑ์ ปัจจุบันในอุตสาหกรรมการแปรรูปผักและผลไม้จึงใช้แคลเซียมคลอไรด์
    สารที่ใช้เพื่อป้องกันการเกิดสีน้ำตาล ส่วนมากใช้วัตถุเจือปนอาหารเพื่อป้องกันปฏิกิริยาดังกล่าว ได้แก่ ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ และสารประกอบซัลไฟด์
    วัตถุกันเสีย เป็นสารประกอบเคมีที่ช่วยในการถนอมหรือยืดอายุการเก็บอาหาร หรือช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ ซึ่งเป็นสาเหตุในการเสียของผลิตภัณฑ์ประเภทผักและผลไม้
สารเจือปนที่ใช้เพื่อปรับปรุงคุณภาพผักและผลไม้อบแห้ง
  1. โซเดียมไบคาร์บอเนต (ผงโซดา) เป็นสารเคมีที่มีคุณสมบัติเป็นด่างอ่อน นิยมเติมลงไปในน้ำลวก / น้ำแช่หลังลวก จุดประสงค์เพื่อปรับสภาพน้ำลวกให้เป็นด่าง ช่วยรักษาสีให้คงความเขียวสด ปริมาณที่ใช้ประมาณร้อยละ 0.5 นาน 5 นาที (คือ น้ำ 1 ลิตร ใช้ 5 กรัม)
  2. โซเดียมเมตาไบซัลไฟท์ใช้กรดสำหรับอาหาร เป็นสารเคมีที่มีคุณสมบัติ ช่วยป้องกันไม่ให้เกิดเชื้อรา ในผักและผลไม้ นอกจากนี้ช่วยให้ผลไม้คงสีธรรมชาติไว้มักจะผสมลงไปในน้ำเชื่อม รวมกับกรดมะนาว ในการแปรรูปผักและผลไม้แช่อิ่มแห้ง ควรใช้ในปริมาณร้อยละ 0.01-0.02 ก่อนใส่ลงในน้ำเชื่อม ควรละลายน้ำให้ เข้ากัน จึงใส่ป้องกันไม่ให้สารอยู่รวมตัวกันที่เดียว (น้ำเชื่อม 1 ลิตร ใช้กรดมะนาว 1 กรัม โซเดียมเมตาไบซัลไฟต์ 0.1-0.2 กรัม)
  3. กรดซิตริก (กรดมะนาว) ใช้กรดสำหรับอาหารนิยมเติมลงในน้ำลวก หรือน้ำสำหรับแช่ผักและผลไม้ ก่อนนำไปแปรรูป เพื่อช่วยปรับปรุงสีของผัก/ผลไม้ให้ขาว (น้ำ 1 ลิตร ใช้กรดมะนาว 5 กรัม แช่นาน 10-15 นาที)
  4. แคลเซียมคลอไรด์ ใช้กรดสำหรับอาหาร นิยมเติมลงในน้ำลวก/น้ำแช่ เพราะจะช่วยเพิ่มความคงตัวให้แก่ลักษณะเนื้อสัมผัส ผลิตภัณฑ์จะมีเนื้อแน่นขึ้น (น้ำ 1 ลิตร ใช้แคลเซียมคลอไรด์ 5 กรัม แช่นาน 15-20 นาที)
    เมื่อได้ทราบถึงหลักการเบื้องต้นของการแปรรูปผลิตผลทางการเกษตรมาแล้ว เรายังมีเรื่องของการนำมะนาวมาแปรรูปในแบบต่างๆ ที่สามารถทำให้คุณประหยัดค่าใช้จ่ายได้มาก อีกทั้งสามารถนำมาประกอบเป็นกิจการในลักษณะอุตสาหกรรมในครอบครัวได้อีกด้วย
การแปรรูปมะนาวสู่ระดับอุตสาหกรรม
    วิธีการที่จะทำการแปรรูปนั้นทำได้หลายวิธี ส่วนมากจะใช้เกลือ และน้ำตาล เป็นส่วนปรุงแต่ง และกรรมวิธีก็ไม่ยุ่งยากมากนักสามารถถ่ายทอดความรู้ และเทคโนโลยีอย่างง่ายให้แก่เกษตรกรได้อย่างดี นอกจากนี้ยังสามารถร่วมกับผู้วิจัยที่ใช้แต่น้ำ โดยนำเปลือกมาแปรรูปได้หลายอย่าง เช่น เปลือกมะนาวปรุงรสสามรส มะนาวแช่อิ่ม และร่วมวิจัยกับผู้ใช้เปลือกมะนาวเพื่อสกัดกลิ่นและน้ำมัน สามารถนำเอาผลมะนาวที่เอาเปลือกออกแล้วมาดองเค็มและทำหวานและเอาที่เป็นน้ำมาทำเป็นน้ำมะนาวพร้อมดื่ม และนำมะนาวผลมาดองเค็ม 3-4 เดือน แล้วนำไปทำแช่อิ่มสด แช่อิ่มแบบอบแห้ง มะนาวหยี ทอฟฟี่มะนาว มะนาวบด ละเอียดปรุงรสทำเป็นน้ำจิ้ม และทำซอสพริกมะนาวดอง มะนาวผงพร้อมดื่ม การแปรรูปมะนาวนั้นยังไม่แพร่หลายมากนัก เพื่อเป็นการใช้ประโยชน์ของผลมะนาวมากขึ้น จึงได้ทดลองทำผลิตภัณฑ์ต่างๆ เพื่อแนะนำสู่ประชาชนในพื้นที่ที่มีมะนาวมาก และนำไปผลิตเพื่อเพิ่มมูลค่าแก่วัตถุดิบ และยังส่งเสริมให้เกษตรกรมีงานทำและเพิ่มรายได้ มะนาวปลูกได้ง่ายในดินแทบทุกชนิดทั้งในที่ลุ่มและที่ดอน มะนาวที่นิยมปลูกในประเทศไทยมี 4 พันธุ์ คือ
  1. มะนาวไข่ ยาวเล็กกลม เปลือกบางผิวเรียบ
  2. มะนาวหนัง ผลโตกว่ามะนาวไข่ กลมมน ค่อนข้างยาว เปลือกหนา ผิวหยาบ
  3. มะนาวแป้น ผลกลมแป้นเหมือนผลส้มเขียวหวานลูกใหญ่ ใบมีขนาดโตกว่ามะนาวไข่เล็กน้อย และฐานใบกว้างกว่ามะนาวไข่ ให้ผลดกน้ำมากและให้ผลตลอดทั้งปี
  4. มะนาวพันธุ์แม่ไก่ไข่ดก มะนาวพันธุ์นี้เมื่อออกใหม่ๆ ได้รับความสนใจจากผู้ตั้งชื่อคือ คุณพยนต์ เกษตรกรแห่งอ่าวอุดม จังหวัดชลบุรี มะนาวพันธุ์นี้โดยบังเอิญเป็นมะนาวที่งอกจากเมล็ดโดยที่ไม่ได้ตั้งใจปลูกโตขึ้นให้ผลดกเป็นพวงๆ ละ 8-9 ผล ผลมีลักษณะคล้ายไข่ไก่ จึงตั้งชื่อเล่นนั้นตามลักษณะใบและมีผลมีขนาดพอๆ กันกับมะนาวไข่ทั่วไปควรจัดไว้ในพวกมะนาวไข่แต่พิเศษ คือให้ผลดกเป็นพวงๆให้ผลผลิตสูง
    วิธีที่จะเก็บให้ได้ผลคุ้มจริงๆ ถึงแม้จะเก็บไว้ในตู้เย็น อุณหภูมิประมาณ 15 องศาเซลเซียส ซึ่งก็เก็บได้ไม่เกิน 1 เดือน เช่นกัน การเก็บมะนาวสดที่ความชื้นสัมพัทธ์ ร้อยละ 85 ถึงร้อยละ 90 อุณหภูมิ 10-12 องศาเซลเซียส จะเก็บมะนาวไว้ได้ในระยะเวลาประมาณ 4 เดือน หรือน้อยกว่า เนื่องจากมีการเน่าเสียจากเชื้อรา ในการเก็บควรจะหาทางลดปริมาณเชื้อราพวกนี้ โดยจุ่มในน้ำยา หรือรมยาพ่นยาฆ่าเชื้อราบนผิวมะนาวเสียก่อน และอายุการเก็บเกี่ยวก็สำคัญมาก มะนาวที่แก่จัดเกินไปเวลาเก็บก็จะทำให้เน่าเสียเร็ว ถ้าอ่อนเกินไปน้ำมะนาวจะมีรสขมและมีน้ำน้อย จึงจำเป็นต้องใช้มะนาวที่มีความแก่อ่อนกำลังดี สีเขียวจัดไม่มีโรคแมลงเจาะเน่า หรือช้ำมะนาวก็เช่นเดียวกับ สิ่งมีชีวิตทั้งหลายต้องการออกซิเจนในการหายใจ และคายคาร์บอนไดออกไซด์ออกมา ในบรรยากาศที่ไม่มีการควบคุมมะนาวจะหายใจในอัตราสูง ทำให้เน่าเสียเร็ว เวลาเก็บจึงต้องปรับสภาวะทำให้มะนาวหายใจช้าๆ สม่ำเสมอมะนาวจึงสดอยู่ได้นาน
ยาฆ่าเชื้อรา ( Fungicide ) ที่ใช้และปริมาณที่ใช้มีดังนี้
  1. Thiobensazole ร้อยละ 90 1 ช้อนโต๊ะ ต่อน้ำ 10 ลิตร แช่นานครึ่งนาที
  2. Manzate-D 24 กรัม ต่อ 20 ลิตร แช่นานครึ่งนาที
  3. Ben late 1 ช้อนโต๊ะ ต่อ 10 ลิตร แช่นานครึ่งนาที จะใช้ชนิดใดก็ได้ ตามสะดวกซึ่งจะให้ผลใกล้เคียงกัน
    ในระหว่างเดือนกรกฎาคม ถึง เดือนพฤศจิกายน เป็นฤดูที่มีมะนาวมากล้นตลาด ราคาตกต่ำเหมาะที่แม่บ้าน จะทำเป็นผลิตภัณฑ์ถนอมไว้รับประทานในครัวเรือนหรือทำเป็นอุตสาหกรรมในครัวเรือน หรือทำเป็นอุตสาหกรรมภายในครอบครัวเป็นการเพิ่มรายได้ เพื่อช่วยพยุงเศรษฐกิจของครอบครัว หรือจะคิดค้นหาวิธีเก็บถนอมมะนาวสดเก็บไว้รับประทานได้ในฤดูกาลที่ขาดแคลนและแพง เช่น การทำผลิตภัณฑ์มะนาวต่างๆ ดังนี้
  1. น้ำมะนาวสดๆ บรรจุขวดเก็บไว้ในตู้เย็น
  2. น้ำมะนาวแช่แข็ง
  3. เยลลี่มะนาว
  4. ทอฟฟี่มะนาว
  5. มะนาวดอง
  6. เปลือกมะนาวแห้งสามรส
  7. แยมผิวมะนาว (มาร์มาเลด)
การแปรรูปมะนาวสดแช่แข็ง
    คนไทยตั้งเกณฑ์มาตรฐานเกี่ยวกับคุณภาพน้ำมะนาวไว้สูงมาก คือ น้ำมะนาวคั้นจากผลสด ไม่มีรสขม ไม่เปลี่ยนรส ข้อสำคัญต้องมีกลิ่นหอมของมะนาวสด จึงจะนำไปปรุงรสอาหารประเภทอาหารยำ ต้มยำ ส้มตำ น้ำพริกมะนาว น้ำพริกกะปิ และ อาหารไทยอื่นๆ
    น้ำมะนาวสดจะเปลี่ยนรสชาติทันทีถ้ากระทบกับความร้อน กลายเป็นน้ำมะนาวต้มและมีรสขม น้ำมะนาวจะตกตะกอนแยกชั้น จึงไม่เป็นที่ต้องการของผู้บริโภค ร้านอาหารก็ไม่อาจใช้มะนาวที่มีคุณภาพเปลี่ยนไปปรุงอาหารได้ น้ำมะนาวที่เก็บค้างไว้นานเกิน 6 ชั่วโมง โดยไม่เก็บรักษาในสภาพเย็น น้ำมะนาวสดทีคั้นจะเสื่อมคุณภาพ มีรสชาติเปลี่ยนไป มีรสขมและกลิ่นคล้ายของดอง สาเหตุเกิดจากการทำงานของเอนไซต์และการสัมผัสอากาศ ดังนั้นการเก็บรักษาน้ำมะนาวสดให้คงคุณภาพเดิมจะเปลี่ยนไปน้อยที่สุด นั่นคือ การเก็บถนอมโดยการแช่แข็งน้ำมะนาวสดที่อุณหภูมิ – 30 องศาเซลเซียส (อย่างต่ำ – 20 องศาเซลเซียส) เพื่อเปลี่ยนสภาพน้ำมะนาวสดในรูปของเหลว กลายสภาพเป็นของแข็ง (น้ำแข็ง) น้ำมะนาวแช่แข็ง จะเก็บรักษาได้นานเกิน 6 เดือน โดยคุณภาพใกล้เคียงของสดมากที่สุด
    ได้ทดลองคืนสภาพน้ำมะนาวกลับไปกลับมาในรูปของเหลวและของแข็ง คุณภาพมะนาวยังคงเดิม ดังนั้นวิธีนี้จึงเหมาะสมที่ร้านอาหารและภัตตาคารจะนำไปใช้เก็บน้ำมะนาวที่มากในฤดูฝน และคืนสภาพเป็นน้ำมะนาวไว้ใช้ในฤดูร้อน ค่าใช้จ่ายต่อน้ำมะนาวแช่แข็งจะตกไม่เกิน 1 บาทต่อกิโลกรัม น้ำมะนาวต่อเดือน
    ทุกคนจะคิดในทางเดียวกันว่าการใช้วิธีแช่แข็งเก็บน้ำมะนาวสด จะมีต้นทุนแพงมากขอตอบว่าคุ้มมาก ไม่แพงอย่างที่คิดเพราะน้ำมะนาว 1 กิโลกรัม จะได้จากผลมะนาวสดขนาดกลาง จำนวน 60 ผล หรือเฉลี่ย 1.6 สตางค์ ต่อผล ต่อเดือน หรือ 9.6 สตางค์ต่อผลต่อ 6 เดือน หากพิจารณาความสะดวกในการใช้น้ำมะนาวก็เกินคุ้ม
การแปรรูปน้ำมะนาวแช่แข็งมีขั้นตอนง่ายๆ ดังนี้
  1. จัดซื้อมะนาวที่แก่เต็มที่ผิวเปลือกยังคงสภาพเขียวทั้งผล
  2. ล้างผิวมะนาวให้สะอาด ไม่มีคราบสกปรก และล้างด้วยน้ำสะอาดอีกครั้ง
  3. วางให้สะเด็ดน้ำและพักให้ผิวแห้ง
  4. เตรียมอุปกรณ์ ได้แก่ มีด เขียง ถัง และถาดให้พร้อมในสภาพที่ทำความสะอาดแล้ว
  5. ผ่าครึ่งผลมะนาว
  6. คั้นมะนาว ใช้เครื่องคั้น ใช้เครื่องบีบ หรือคั้นด้วยมือก็ได้
  7. แยกเมล็ดที่ตกค้างในน้ำมะนาวออกให้หมด
  8. รีบบรรจุน้ำมะนาวใส่ถาดพลาสติกชนิดเย็นและหนาขนาด 100 กรัม หรือตักใส่ถาดพลาสติกสูงไม่เกิน 1 นิ้ว หรือใช้ถาดทำน้ำแข็งเป็นหลุมๆ ห้ามคั้นน้ำมะนาวทิ้งค้างไว้นานเกิน 1 ชั่วโมง ต้องรีบแช่แข็ง
  9. วางในตู้เย็นชั้นน้ำแข็ง หรือตู้แช่แข็งที่มีอุณหภูมิ -20 องศาเซลเซียส หรือห้องแช่แข็ง -20 อาศาเซลเซียส
  10. ประมาณ 6 ชั่วโมง น้ำมะนาวจะเปลี่ยนเป็นน้ำแข็งอย่างสมบูรณ์
  11. สำหรับภาชนะที่ใช้บรรจุน้ำมะนาวเป็นถุงพลาสติกมีการผลึกปากถุงให้แน่น น้ำไม่ระเหยไปไหน สำหรับถาดน้ำแข็งเป็นหลุม และถาดเปิด ต้องนำออกมาปิดด้วยแผ่นพลาสติก เพื่อป้องกันการระเหยของน้ำ เพราะในตู้แช่แข็งจะมีความชื้นสัมพัทธ์ต่ำมาก จึงสูญเสียน้ำไม่ควรใช้พลาสติกบางชนิดย่น เพราะจะปริแตกและน้ำระเหยได้
  12. แม่บ้านที่เตรียมน้ำมะนาวเองใส่ถาดน้ำแข็งจะนำมาเก็บในกล่องเก็บน้ำแข็งก็ได้ แต่ต้องปิดปากกล่องให้แน่นเวลาใช้ก็นำมาใช้ทีละก้อนจนกว่าจะหมด
  13. สำหรับร้านค้าและภัตตาคาร ก็ใช้ชนิดบรรจุพลาสติกจะสะดวกที่สุด หากเหลือใช้ก็มัดปากถุงเก็บใส่ตู้เย็นได้อีก
  14. สำหรับผู้สนใจทำเป็นการค้าหรือธุรกิจก็มีสูตรและกรรมวิธีการทำน้ำมะนาวแช่แข็งโดยเฉพาะติดต่อภาควิชาพัฒนาผลิตภัณฑ์ คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
การเก็บรักษามะนาวในระดับการค้า
  1. เก็บเกี่ยวด้วยความประณีต
  2. คัดเลือกเฉพาะผลที่มีสีเขียวเข้มและมีขั้วติด ไม่มีบาดแผล รอยช้ำ โรค หรือแมลง
  3. ล้างทำความสะอาดด้วยคลอรีน 200 ppm
  4. แช่ยากันรา ในกลุ่ม Benzimidazale 500-1,000 ppm ผสม GA 200 ppm
  5. บรรจุในถุงพลาสติกเจาะรู
  6. เคลือบผิวด้วยสารเคลือบผิว
  7. บรรจุในตะกร้า
  8. เก็บรักษาที่อุณหภูมิ 10 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ร้อยละ 90-95
  9. ควบคุมบรรยากาศให้มีออกซิเจน ร้อยละ 10
  10. กำจัดเอธิลีนออกจากห้องเก็บรักษา

การทำปุ๋ยชีวภาพ

ปุ๋ยชีวภาพ ปุ๋ยหมักชีวภาพ วิธีทําปุ๋ยชีวภาพ การทำปุ๋ยชีวภาพ จากการที่ คุณอภิชาติ ดิลกโสภณ ได้ “เก็บเอามาเล่า” นั้น  ผู้ช่วยสำคัญที่ทำให้เกิดผลสำเร็จคือจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพ         ไม่ว่าจะเป็นการดำเนินการ ตามแนวพระราชดำริ เรื่องเศรษฐกิจพอเพียง การนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน ตลอดจนในภาคการผลิตและอุตสาหกรม ดังนั้น   การรู้จักวิธีใช้ การปรับใช้ให้เข้าใจ     ย่อมเกิดประโยชน์มหาศาล ขอเพียงมีความขยันหมั่นเพียร      อดทนตั้งใจจริง ไม่พึ่งพาสารเคมี     จะนำมา ซึ่งสภาพชีวิตที่ดี     สังคมและประเทศชาติก็ย่อมดีขึ้นอย่างแน่นอน

ทุก วันนี้กระแสและความตื่นตัวในเรื่องของสุขภาพ   ซึ่งมีความ สำคัญอย่างยิ่งกำลังมาแรง ทุกประเทศในโลกรวมทั้งประเทศไทย    จึงหันมาใช้กรรมวิธีแบบเกษตรอินทรีย์หรือเกษตรธรรมชาติ กันแล้วอย่างกว้างขวางและแพร่หลาย      เนื่องจากใช้สารเคมีมานาน ๆนับสิบ ๆ ปี ทำให้จุลินทรีย์ที่ช่วยย่อยสลายอินทรีย์วัตถุที่อยู่ในดินและบนดินตายไปหมด  เราต้องช่วยกันคืนจุลินทรีย์กลับบ้าน    ซึ่งจะทำให้ดินที่เป็นรากฐานของชีวิตกลับเป็น “ดินมีชีวิต” อีกครั้ง เพื่อผลิตพืชผลปลอดภัย เลี้ยงมนุษยชาติต่อไป

         การใช้เกษตรอินทรีย์ หรือเกษตรชีวภาพ หรือเกษตรธรรมชาติในเมืองไทย     ขณะนี้มีอยู่หลายรูปแบบ หลายวิธี อาทิ การใช้ผักมาหมักกับกากน้ำตาล ได้น้ำสกัดชีวภาพ บางคนใช้สารเร่ง ซึ่งมีตั้งแต่   พด. 1 ถึง พด. 9 ของกรมพัฒนาที่ดินบางคนใช้ปุ๋ยสำเร็จรูปอัลจินัว      ของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี บางคนใช้แค่มูลสัตว์เท่านั้น เป็นต้น  ซึ่งแต่ละวิธีใช้เวลา ต้นทุน และกรรมวิธีแตกต่างกันไป

         ในที่นี้ขอแนะนำการใช้จุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพ   เพื่อ เป็นทางเลือกอีกทางหนึ่งให้เกษตรกร         และผู้สนใจนำไป ใช้เพราะราคาถูก ทำได้รวดเร็ว ประหยัดเวลา ปลอดภัย ฯลฯ ซึ่งจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพ ได้รับการพิสูจน์จากหลาย สถาบัน   ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ว่าเป็นจุลินทรีย์ที่ใช้ได้ดี  ไม่มีอันตรายกับคนหรือสัตว์ และเมื่อเรารู้จักการใช้จุลลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพดีพอจะสามารถนำไปใช้ใน ชีวิตประจำวันได้เป็นอย่างดี

1. ปุ๋ยชีวภาพ อีเอ็ม (EM) คืออะไร
                EMย่อมาจาก Efective Microorganisms  หมาย ถึง กลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพ ซึ่ง ศ.ดร.เทรูโอะ ฮิหงะ นักวิทยาศาสตร์ ผู้เชี่ยวชาญสาขาพืชสวน มหาวิทยาลัยริวกิว เมืองโอกินาวา ประเทศญี่ปุ่น ได้ศึกษาแนวความคิดเรื่อง “ดินมีชีวิต” ของท่านโมกิจิ โอกะดะ (พ.ศ.2425-2498) บิดาเกษตรธรรมชาติของ โลก จากนั้น ดร.อิหงะ เริ่มค้นคว้าทดลองตั้งแต่ปี พ.ศ.2510 และค้นพบ EM เมื่อ พ.ศ.2526 ท่านอุทิศทุ่มเททำการวิจัยผลปรากฏว่ากลุ่มจุลินทรีย์นี้ใช้ ได้ผลจริง หลังจากนั้นศาสนาจารย์วาคุกามิ ได้นำมาเผยแพร่ในประเทศไทย โดยท่านเป็นประธานมูลนิธิบำเพ็ญสาธารณ ประโยชน์ด้วยกิจกรรมทางศาสนา หรือ คิวเซ (คิวเซ แปลว่า ช่วยเหลือโลก) ปัจจุบันตั้งอยู่ที่ อ.แก่งคอย จ.สระบุรี จากการค้นคว้าพบความจริงเกี่ยวกับจุลินทรีย์ว่ามี 3 กลุ่ม คือ
    1. กลุ่มสร้างสรรค์ เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีคุณภาพ มีประมาณ 10%
    2. กลุ่มทำลาย เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่เป็นโทษ ทำให้เกิดโรคมีประมาณ 10%
    3. กลุ่มเป็นกลาง มีประมาณ 80%จุลินทรีย์กลุ่มนี้หากกลุ่มใดมีจำนวนมากกว่า กลุ่มนี้จะสนับสนุนหรือร่วมด้วย
          ดังนั้น การเพิ่มจุลินทรีย์เหล่านี้จะช่วยปรับปรุงโครงสร้างของดินให้มีจำนวนมากกว่า  ซึ่งจุลินทรีย์เหล่านี้จะช่วยปรับปรุงโครงสร้างของดินให้กลับมีพลัง ขึ้นมาอีกหลังจากที่ถูกทำลายด้วยสารเคมีจนดินตายไป

ปุ๋ยชีวภาพ จุลินทรีย์มี 2 ประเภท
  1. ประเภทต้องการอากาศ (Aerobic Gacteria )
  2. ประเภทไม่ต้องการอากาศ (Anaerobic Bacteria)
                จุลินทรีย์ทั้ง 2 กลุ่มนี้ ต่างพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน และสามารถอยู่ร่วมกันได้
                จากการค้นคว้าดังกล่าว ได้มีการนำเอาจุลินทรีย์ที่ได้รับการคัดและเลือกสรรอย่างดีจากธรรมชาติที่มี ประโยชน์ต่อพืช สัตย์ และสิ่งแวดล้อมารวมกัน 5 กลุ่ม (Families) 10 จีนัส (Genues) 80 ชนิด (Spicies) ได้แก่
                กลุ่มที่ 1 เป็นกลุ่มจุลินทรีย์พวกเชื้อราที่มีเส้นใย (Filamentous fungi) ทำหน้าที่เป็นตัวเร่งการย่อยสลาย สามารถทำงานได้ดีในสภาพที่มีออกซิเจน มีคุณสมบัติต้านทานความร้อนได้ดี ปกติใช้เป็นหัวเชื้อผลิตเหล้า ผลิตปุ๋ยหมัก ฯลฯ
                กลุ่มที่ 2 เป็นกลุ่มจุลินทรีย์พวกสังเคราะห์แสง (Photosynthetic microorganisms) ทำหน้าที่สังเคราะห์สารอินทรีย์ให้แก่ดิน เช่น ไนโตรเจน (N2) กรดอะมิโน (Amino acids) น้ำตาล (Sugar) วิตามิน (Vitamins) ฮอร์โมน (Hormones) และอื่นๆ เพื่อสร้างความสมบูรณ์ให้แก่ดิน
                กลุ่มที่ 3 เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่ใช้ในการหมัก (Aynogumic or Fermented microorganisms) ทำหน้าที่เป็นตัวกระตุ้นให้ดินต้านทานโรค (Diseases resistant) ฯลฯ เข้าสู่วงจรการย่อยสลายได้ดี ช่วยลดการพังทลายของดิน  ป้องกันโรคและแมลงศัตรูพืชบางชนิดของพืชและสัตว์สามารถบำบัดมลพิษในน้ำเสีย ที่เกิดจากสิ่งแวดล้อมเป็นพิษต่างๆ ได้
                กลุ่มที่ 4 เป็นกลุ่มจุลินทรีย์พวกตรึงไนโตรเจน (Nitrogen fixing microorganisms) มีทั้งพวกที่เป็นสาหร่าย (Algae) และพวกแบคทีเรีย (Bacteria) ทำหน้าที่ตรึงก๊าซไนโตรเจนจากอากาศเพื่อให้ดินผลิตสารที่เป็นประโยชน์ต่อการเจริญเติบโต เช่น โปรตีน (Protein) กรดอินทรีย์ (Organic acids) กระดไขมัน (Fatty acids) แป้ง (Starch or Carbohydrates) ฮอร์โมน (Hormones)   วิตามิน (Vitamins) ฯลฯ
                กลุ่มที่ 5 เป็นกลุ่มจุลินทรีย์พวกสร้างกรดแลคติก (Lactic acids)  มีประสิทธิภาพในการต่อต้านเชื้อราและแบคทีเรียที่เป็นโทษ ส่วนใหญ่เป็น จุลินทรีย์ที่ไม่ต้องการอากาศหายใน ทำหน้าที่เปลี่ยนสภาพดินเน่าเปื่อยหรือดินก่อโรคให้เป็นดินที่ต้านทานโรค ช่วยลดจำนวนจุลินทรีย์ที่เป็นสาเหตุของโรคพืชที่มีจำนวนนับแสน หรือให้ หมดไป นอกจากนี้ยังช่วยย่อยสลายเปลือกเมล็ดพันธุ์พืช ช่วยให้ เมล็ดงอกได้ดีและแข็งแรงกว่าปกติอีกด้วย


ปุ๋ยชีวภาพ ลักษณะทั่วไปของEM
                EM เป็นจุลินทรีย์ กลุ่มสร้างสรรค์ เป็นกลุ่มที่มีประโยชน์ หรือ เรียกว่ากลุ่มธรรมะ ดังนั้น เวลาจะใช้ EM เป็นสิ่งมีชีวิต EM  มีลักษณะดังนี้
                • ต้องการที่อยู่ ที่เหมาะสม ไม่ร้อนเกินไป หรือเย็น เกินไป อยู่ในอุณหภูมิปกติ
                • ต้องการอาหารจากธรรมชาติ เช่น น้ำตาล รำข้าว   โปรตีน และสารประกอบอื่นๆ ที่ไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิต
                • เป็นจุลินทรีย์จากธรรมชาติ ไม่สามารถใช้ร่วมกับสารเคมีและยาฆ่า เชื้อต่างๆ ได้
                • เป็นตัวเอื้อประโยชน์แก่พืช สัตว์ และสิ่งมีชีวิต                    
                • EM จะทำงานในที่มืดได้ดี ดังนั้นควรใช้ช่วงเย็นของวัน      
                • เป็นตัวทำลายความสกปรกทั้งหลาย                
ปุ๋ยชีวภาพ การดูแลเก็บรักษา
                1. หัวเชื้อ EM สามารถเก็บได้นานประมาณ 1 ปี   โดยปิดฝาให้สนิท
                2. อย่าทิ้ง EM  ไว้กลางแดด และอย่าเก็บไว้ในตู้เย็น เก็บรักษาไว้ในอุณหภูมิปกติ
                3. ทุกครั้งที่แบ่งไปใช้ต้องรีบปิดฝาให้สนิท เพื่อไม่ให้เชื้อโรค หรือจุลินทรีย์ในอากาศที่เป็นโทษ เข้าไปหะปน
                4. การนำ EM ไปขยายต่อ ควรใช้ภาชนะที่สะอาด และใช้ให้หมดในระยะเวลาที่เหมาะสม  

การปักชำ

การปักชำ


การปักชำ คือการใช้ส่วนต่างๆ ของพืช เช่น ราก ใบ หรือ ลำต้น ไปปักชำ และส่วนของพืชเหล่านี้จะเจริญงอกงามเป็นลำต้นต่อไป
การปักชำเป็นวิธีขยายพันธุ์พืชที่ดีวิธีหนึ่งซึ่งมีข้อดี ดังนี้
1. ประหยัดค่าใช้จ่าย
2. ขยายพันธุ์ได้ปริมาณมาก
3. ทำได้ง่ายโดยไม่ต้องอาศัยเทคนิคหรือความสามารถมาก
4. ต้นพืชเจริญเติบโตเร็ว โดยใช้ระยะเวลาไม่นาน
5. พืชต้นใหม่ที่ได้จะมีลักษณะเหมือนต้นเดิมทุกประการ

วัสดุที่ใช้ในการปักชำ
กระบะ ดิน ทราบ แกลบ ปุ๋ยคอก ขุยมะพร้าว ใบไม้ผุ

การปักชำสามารถทำได้หลายวิธี ดังนี้
1. การปักชำราก เป็นการเอารากของพืชมาปักชำ อาจปักลงไปในดิน ในทราย หรือในเถ้าแกลบก็ได้ เพื่อส่วนของรากนั้นงอกเป็นลำต้นต่อไป พืชที่ใช้รากปักชำ เช่น มันเทศ สน สาเก เข็มอินเดียเป็นต้น วิธีการชำรากทำได้ ดังนี้
1.1 ตัดรากไม้ออกเป็นท่อนๆ
1.2 วางรากบนดิน การปักชำรากไม่นิยมปักในแนวตั้ง แต่นิยมวางในแนวนอน หรือวางในแนวเฉียงเล็กน้อย


2. การปักชำใบ โดยทั่วไปแล้วใบจะแตกเป็นกิ่งไม่ได้ แต่มีพืชบางชนิดสามารถนำใบมาปักชำให้เจริญเติบโตเป็นต้นต่อไปได้ เช่น ลิ้นมังกร กุหลาบหิน คว่ำตายหงายเป็น เป็นต้น การปักชำใบมี 4 วิธี

วิธีที่ 1 การปักชำโดยใช้ใบ
ให้นำใบที่ไม่ใช่ใบอ่อนมาตัดเป็นส่วนๆ หรือทั้งใบแล้วนำไปวางเป็นวัสดุ เช่น ทราย หรือดิน โดยให้ด้านบนของใบหงายขึ้น พืชที่นิยม เช่น คว่ำตายหงายเป็น กุหลาบหิน

วิธีที่ 2 การปักชำโดยใช้ก้านใบ
ให้ตัดก้านใบให้หลุดออกจากกิ่งแล้วนำไปปักชำก็จะเจริญเติบโตเป็นต้นใหม่ได้ เช่น กุหลาบหิน

วิธีที่ 3 การปักชำโดยใช้ก้านใบที่ส่วนของกิ่ง
ให้เอาใบมา โดยเฉือนส่วนของกิ่งให้มีตาติดมาด้วย (มิใช่นำมาทั้งกิ่ง) แล้วนำไปปักชำ ส่วนตาที่ติดมากับกิ่งก็จะเจริญเติบโตเป็นต้นต่อไป วิธีนี้นิยมใช้กับ ฟิโลเดนดรอน ต้นยางอินเดีย

วิธีที่ 4 การใช้ใบติดกิ่งมาปักชำ
ให้ตัดกิ่งที่จะนำมาปักชำ โดยกิ่งนั้นต้องมีตาเดียว และมีใบติดมาด้วยแล้วนำส่วนของกิ่งบางส่วนปักลงในดินให้ใบ และกิ่งส่วนหนึ่งโผล่ขึ้นมา เพียงเล็กน้อย พืชที่นิยมขยายพันธุ์แบบนี้ ได้แก่ ฟิโลเดนดรอน

การปักชำกิ่ง
เป็นวิธีที่นิยมกันมากและทำกันมานานแล้ว เราไม่จำเป็นต้องพิถีพิถันกับวัสดุที่ใช้ในการปักชำมากนัก ปัจจุบันนิยมกัน แพร่หลายเพราะประหยัดค่าใช้จ่าย ใช้ระยะเวลาสั้น และได้ลักษณะพันธุ์เดิม การปักชำกิ่งแบ่งเป็น 3 ประเภท
1. การปักชำกิ่งประเภทที่มีเนื้ออวบน้ำ เช่น ฤาษีผสม กิ่งชนิดนี้จะอ่อน บอบบาง และช้ำง่าย ฉะนั้นจึงต้องการความประณีต ในการปฏิบัติ คือต้องระวังในเรื่องความชื้น แสง และอุณหภูมิ
2. การปักชำกิ่งที่มีความแข็งของเนื้อไม้ปานกลาง เช่น ว่านกวนอิม อายุของกิ่งประมาณ 3 - 6 เดือน ผิวเปลือกของกิ่งมี สีอมเขียว ยังไม่เป็นสีน้ำตาล กิ่งประเภทนี้มีเนื้อไม้อ่อนไม่แข็งแรงนัก ฉะนั้นจึงควรระมัดระวังเรื่องน้ำ อุณหภูมิ และแสงสว่างให้มาก เพราะกิ่งประเภทนี้จะเหี่ยวแห้งได้ง่าย
2. การปักชำไม้ที่มีอายุเกิน 1 ปีขึ้นไป วิธีนี้นิยมกันมาก การเลือกกิ่งไม้ที่จะนำมาปักชำ ควรเลือกกิ่งที่มีสีน้ำตาล ก่อนปักชำควร ปักกิ่งชำให้มีตาอย่างน้อย 2-3 ตา การตัดควรตัดเป็นท่อน ๆ ขนาด ยาว 6-8 เซนติเมตร การตัดท่อนปลายกิ่งให้ตัดเหนือข้อ ส่วนท่อนโคนให้ตัดต่ำกว่าข้อ โดยตัดให้เฉียง เราไม่ควรตัดตรงข้อพอดี เพราะจะทำให้กิ่งสูญเสียอาหารไป นอกจากนี้ บริเวณข้อยังมีเนื้อเยื่อ อัดตัวแน่นและแข็งแรง ช่วยป้องกันการระเหยของน้ำในกิ่งได้เป็นอย่างดี

การเตรียมกระบะชำ
ควรทำกระบะ ขนาดกว้าง 50 เซนติเมตร ยาว 50 เซนติเมตร สูง 20 เซนติเมตรชั้นล่างวางอิฐหรือกรวด ชั้นบนใส่ทรายหยาบหรือเถ้าแกลบให้เหลือขอบกระบะไว้ 5 เซนติเมตร รดน้ำให้ชุ่มการปักชำกิ่ง หรือยอด ควรหาไม้สำหรับใช้ในการนำร่องก่อน ปักทำมุม 45 องศา แล้วจึงนำกิ่งที่จะปักชำใส่ลงไป ให้ส่วนโคนที่ตัดเป็นรูปเฉียงตรงรอยตัดคว่ำลง ให้ส่วนยอดโผล่พ้นวัสดุชำอย่างน้อย 1-2 ตา การดูแลกิ่งชำ รดน้ำกิ่งชำให้ชุ่ม เช้า เย็น ทุกวันจะช่วยให้กิ่งปักชำออกรากได้ดี เมื่อปักชำไปได้ประมาณ 3-4 สัปดาห์ รากจะงอก จึงย้ายไปปลูกในแปลง หรือในกระถางที่เตรียมไว้โดยใช้ช้อนปลูกแซะ หรือตักไปปลูก

การตอนกิ่ง